CURRENT EXHIBITION
"THE ECHOES OF CONFLICT"
Solo Exhibition by
Jittagarn Kaewtinkoy
31 MAY - 12 JULY 2025
THE ECHOES OF CONFLICT
Humanity has advanced its civilisation over millions of years through conflicts. Empires rise and fall. Ideological conflicts emerge. Wars break out over questions of faith and power interests. The struggle for resources and power has become the most important driving force in the world, from colonial times to the present day. Even though the world has entered an age of advanced technology, the echoes of past conflicts are still palpable. Humans have created democracy and human rights. We are led to believe that we are making progress with the development of nuclear weapons and digital authoritarian states. Each generation continues to wage war like the one before, only with the most modern technology at its disposal. Nationalism, once a means of uniting people, has once again become a pretext for division, for the struggle for resources and power. This was true in the past and remains one of the driving forces of geopolitics today. War no longer takes place only on the battlefield, but also through trade wars, sanctions, cyber warfare and propaganda. People today dream of living among the stars or on other planets, yet it has not yet managed to free itself from the repetitive cycle that has driven so-called civilisation into conflicts from the very beginning.
"THE ECHOES OF CONFLICT"
นิทรรศการเดี่ยว โดย
จิตรการ แก้วถิ่นคอย
จัดแสดง 31 พฤษภาคม - 12 มิถุนายน 2568
THE ECHOES OF CONFLICT
นับล้านปีของวิวัฒนาการ มนุษยชาติขับเคลื่อนอารยธรรมผ่านความขัดแย้ง จักรวรรดิผงาดขึ้นและล่มสลาย อุดมการณ์ปะทะกัน สงครามปะทุด้วยศรัทธาและผลประโยชน์ การแย่งชิงทรัพยากรและอำนาจกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโลก ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจนถึงปัจจุบัน แม้โลกจะก้าวสู่ยุคที่เทคโนโลยีล้ำหน้า แต่เสียงสะท้อนแห่งความขัดแย้งในอดีตก็ยังดังก้องไม่จางหาย มนุษย์สร้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และรัฐเผด็จการดิจิทัล เราเชื่อว่าเรากำลังก้าวไปข้างหน้า แต่เสียงสะท้อนจากอดีตยังดังก้อง แต่ละรุ่นยังคงสืบทอดสงครามของรุ่นก่อน ชาตินิยมเคยเป็นเครื่องมือแห่งความสามัคคี แต่กลับกลายเป็นข้ออ้างของการแบ่งแยก การแย่งชิงทรัพยากรและอำนาจที่เคยเป็นเชื้อไฟของสงครามในอดีต ยังคงเป็นแรงผลักดันของภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน สงครามไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสนามรบอีกต่อไป แต่ปรากฏผ่านสงครามการค้า มาตรการคว่ำบาตร สงครามไซเบอร์ และการโฆษณาชวนเชื่อ มนุษย์ฝันถึงอนาคตในหมู่ดาว แต่ยังคงติดอยู่ในวัฏจักรเดิมที่ขับเคลื่อนอารยธรรมแห่งความขัดแย้งมาตั้งแต่แรกเริ่ม
PAST EXHIBITION
"BEAUTY ON THE GOLDEN SKY"
Solo Exhibition by
CHARINTHORN RACHURUTCHATA
22 MARCH - 03 MAY 2025
Beauty on the Golden Sky
Delving into the state’s destruction of memory surrounding the 1932 People's Party Revolution, Charinthorn became captivated by the images of women from this era. At the dawn of Thailand’s democracy, on the golden sky, once the people emerged as the sovereign. ‘Miss Siam’ the national beauty pageant held as part of the Constitution Celebration, depict a monumental moment in Thai women’s right, revealing the time when women gained freedom to pursue education and careers, became figures of authority, and liberated themselves from the traditions of the old regime.
But their beauty has been lost into historical oblivion. After the People's Party fell in the 1947 Coup d’état, the Constitution Celebration was canceled, the national beauty pageant then lost its political significance and connection to the revolution. Monuments and buildings erected during this period were gradually demolished. As Benedict Anderson remarked, “all profound changes in consciousness, by their very nature, bring with them characteristic amnesia”. To establish new memory, the post-1947 Thai state painted the revolution as prematurely acted, a symbol of blemish, an irremovable stain in nation history.
‘Beauty on the Golden Sky’ is a photographic ode celebrating the women of the revolutionary era. Working with Kintsugi, the Japanese practice of repairing ceramics with gold, Charinthorn literally inscribes the Golden Stain onto a tarnished history, countering the national narrative and monumentalizing the lost cultural heritage. Through the performative ritual of applying each gold leaf with great respect for the democracy heroes and sitters, her symbolic Golden Stain embodies resistance gesture and hope to bring back the Golden Sky.
Artist
Charinthorn Rachurutchata is a visual artist who works on gender inequality, religious, social and political issues. Charinthorn has exhibited her work worldwide and has been selected for many artist residency programs, including in Canada, Australia, Taiwan, and Japan, where she began studying Kintsugi techniques. In 2022, she became the first Thai female photographer to receive the World Press Photo Award in the Southeast Asia and Oceania Open Format category for her project The Will to Remember. Though the project could not be shown in Thailand, it was exhibited in 25 countries as part of the World Press Photo Exhibition Worldwide Tour.
"โฉมงามเมื่อวันฟ้าสีทอง"
นิทรรศการเดี่ยว โดย
ชรินทร ราชุรัชต
จัดแสดง 22 มีนาคม - 03 เมษายน 2568
โฉมงามเมื่อวันฟ้าสีทอง
การค้นคว้าเกี่ยวกับการทำลายความทรงจำของรัฐต่อการปฏิวัติสยามของคณะราษฎรในปี2475 ทำให้ชรินทรหลงใหลในภาพถ่ายของสตรีจากยุคสมัยนั้น ในช่วงรุ่งอรุณของประชาธิปไตย เมื่อฟ้าเป็นสีทอง และประชาชนได้ก้าวขึ้นเป็นเจ้าของอำนาจ ‘นางสาวสยาม’ การประกวดนางงามระดับชาติซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญ ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านสิทธิสตรีของไทยในยุคสมัยใหม่ อันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้หญิงเริ่มมีสิทธิ์เลือกตั้ง มีอิสระในการแสวงหาการศึกษาและอาชีพ และได้ปลดปล่อยตัวตนจากขนบธรรมเนียมของระบอบเก่า
แต่เรื่องราวของพวกเธอกลับถูกทำให้เลือนหายไป หลังคณะราษฎรล่มสลายจากการรัฐประหารปี2490 งานฉลองรัฐธรรมนูญก็ถูกยกเลิก การประกวดนางงามจึงสูญเสียความหมายทางการเมืองและความเชื่อมโยงกับการปฏิวัติ อนุสาวรีย์และอาคารที่สร้างขึ้นโดยของคณะราษฎรค่อยๆถูกทุบทิ้ง ดังที่เบเนดิกต์ แอนเดอร์สันได้กล่าวไว้ “การเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งในจิตสำนึกทั้งปวง ย่อมนำมาซึ่งความหลงลืมอันมีลักษณะเฉพาะ” เพื่อปลูกฝังความทรงจำใหม่ให้แก่ประชาชน การปฏิวัติสยามได้ถูกวาดภาพว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม เป็นการกระทำอันด่างพร้อย เป็นสัญลักษณ์ของรอยด่างที่ลบไม่ออกบนหน้าประวัติศาสตร์
‘โฉมงามเมื่อวันฟ้าสีทอง’ เป็นดั่งบทกวีภาพถ่ายที่ชรินทรทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสตรีในยุคปฏิวัติสยาม เธอทำงานโดยใช้เทคนิคคินสึงิ(Kintsugi) ซึ่งเป็นศิลปะการซ่อมแซมเซรามิกด้วยทองของญี่ปุ่น ในการวาดรอยด่างสีทองลงบนภาพถ่าย เพื่อท้าทายประวัติศาสตร์ชาติที่เขียนโดยรัฐและรื้อฟื้นมรดกทางวัฒนธรรมที่สูญหาย แผ่นทองคำเปลวแต่ละแผ่นที่ได้ติดด้วยความเคารพต่อประวัติศาสตร์และสตรีในยุคสมัยนั้น ทำให้รอยด่างสีทองของเธอเป็นทั้งสัญลักษณ์ของการต่อต้านและความหวังที่จะนำท้องฟ้าสีทองกลับคืนมา
ศิลปิน
ชรินทร ราชุรัชต เป็นศิลปินภาพถ่ายชาวไทยที่ทำงานเกี่ยวการเมือง ความไม่เท่าเทียมทางเพศ เเละประเด็นทางศาสนา ชรินทรมีผลงานภาพถ่ายจัดแสดงทั่วโลก เเละได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการศิลปินพำนัก ทั้งในประเทศออสเตรเลีย เเคนาดา ไต้หวัน เเละญี่ปุ่นที่ซึ่งเธอได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคคินสึงิ โดยในปี 2565 เธอเป็นช่างภาพหญิงชาวไทยคนเเรกที่ได้รับรางวัล World Press Photo, Southeast Asia and Oceania, Open Format จากผลงานชุด The Will to Remember ถึงแม้จะไม่ได้จัดแสดงในประเทศไทย ผลงานชุดนี้ได้ถูกจัดแสดงใน25ประเทศผ่าน World Press Photo Exhibition Worldwide Tour
HOW I GOT TO NOW
Selected works from the collection of Head High Second Floor
and recent acquisitions.
HOW TO GET TO THE NEW LOCATION
Head High Second Floor
28/1 Singharat Rd., T.Si Phum, A.Mueang, Old Town, Mueang, Chiang Mai, 50200 Thailand
Opening Hours:
Monday, Tuesday, Thursday, Friday, Saturday
from 4 pm
Wednesday and Sunday closed
Preferably by appointment
Phone: +66 61 686 0660 (ENG/GER)
Email: hello@head-high-second-floor.com
FB Messenger (Reinhard Kressner)